มื่อสงสัยเป็นโรคมะเร็ง ควรรีบพบแพทย์ภายใน 2 สัปดาห์หลังเริ่มมีอาการ เพื่อการวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้นก่อนที่โรค มะเร็งจะลุกลามกลายเป็นโรคในระยะที่รุนแรงขึ้น

การดูแลตนเองในช่วงตรวจวินิจฉัยโรค คือ การเตรียมสุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อรองรับขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยโรค รวมทั้งถ้าเกิดเป็นโรคมะเร็งจริง ร่างกายและจิตใจจะได้พร้อมในการรักษาด้วย

  • การดูแลตนเองในเรื่องทั่วไป
ควรอ่านรายละเอียดในวิธีการตรวจต่างๆซึ่งนัดตรวจ (ถ้ามี) ให้เข้าใจ ก่อนออกจากโรงพยาบาล เมื่อไม่เข้าใจต้องสอบถามจากเจ้าหน้าที่ผู้นัดหมายให้เข้าใจเสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการเตรียมตัวรับการตรวจอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้ต้องเลื่อนวันตรวจออกไปอีก โดยเฉพาะเรื่องการงด อาหาร เครื่องดื่ม และน้ำดื่ม

พูดคุย ปรึกษา กับคนในครอบครัว ถึงความเป็นไปได้ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจตั้งแต่ต้น ควรนอนให้หลับสนิท และพักผ่อนให้เพียงพอ อาจต้องแจ้งหัวหน้างานในเรื่องของการงาน ลดความเครียดของตนเอง เพราะการตรวจบาง อย่างอาจจำเป็นต้องหยุดงาน แจ้งแพทย์ที่ดูแลในเรื่องโรคประจำตัวอื่นๆให้ทราบเรื่องขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพื่อการประสานงาน การดูแลผู้ป่วยร่วมกันของแพทย์ การปรับยา หรือ งดยาบางชนิด โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดชิ้นเนื้อ เพราะอาจเพิ่มผลข้างเคียงจากยาได้ เช่น ภาวะเลือดออกง่ายจากการใช้ยาแอสไพริน เป็นต้น

ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการคุมกำเนิด เพราะการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งมักจำเป็นต้องมีการตรวจด้วยรังสี (เอกซเรย์) ซึ่งรังสีอาจก่อความพิการต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการตั้งครรภ์จึงเป็นอุปสรรคสำคัญทั้งในช่วงตรวจวินิจฉัยและในช่วงการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งการผ่าตัด การใช้ยาสลบ รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด และยาฮอร์โมน เพราะล้วนมีผล กระทบต่อสุขภาพ และชีวิตของทารกในครรภ์

ถ้าสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด ยาสมุนไพร ยากลาง บ้านต่างๆ ควรหยุดใช้ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อการแปลผลการตรวจได้ถูกต้อง ป้องกันผลข้างเคียงจากการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน และเพื่อการดูแลสุขภาพของตัวผู้ป่วยเอง

รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายและสุขภาพจิตแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ ซึ่งการติดเชื้อเป็นอีกอุปสรรคสำคัญในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพราะจะส่งผลให้การตรวจผิดพลาดและมีผลข้างเคียงจากการตรวจสูงขึ้น ดังนั้น ถ้าติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องเลื่อนการตรวจต่างๆออกไปจนกว่ารักษา การติดเชื้อให้หายแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์

คือ มีสติ ไม่วิตกกังวลจนเกินเหตุ จดข้อมูลต่างๆที่ต้องการสอบถามแพทย์ก่อนพบแพทย์ รวมทั้งรายการยาต่างๆที่ใช้เป็นประ จำ หรือเพิ่งหยุดยาไปภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสิ่งที่เราต้องการทราบ ซึ่งการพบแพทย์ครั้งแรกควรมีครอบครัวที่บรรลุนิติภาวะ และไว้ใจได้ไปด้วย เพื่อช่วยจดข้อมูล และจดจำข้อมูลต่างๆที่ได้พูดคุย สอบถาม หรือนัดหมายกับแพทย์

  • การดูแลตนเองในเรื่องอาหาร
งด หรือจำกัดการดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า ยาชูกำลัง เพราะอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ

ไม่ใช้สมุนไพร การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์สนับสนุนโดยไม่ปรึกษาแพทย์โรคมะเร็งก่อน

ควรกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบในทุกมื้ออาหาร เพิ่มผัก ผลไม้ให้มากๆ แต่ยังคงจำกัดอาหารคาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำ ตาล) และไขมัน และจำกัดปริมาณให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดมีโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคประจำ ตัวที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม เพื่อให้ร่างกายสดชื่น ลดโอกาสท้องผูก เพื่อสุขภาพกาย สุข ภาพจิตที่ดี

  • การดูแลตนเองในเรื่องการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในช่วงตรวจวินิจฉัยโรค ไม่ควรหักโหม แต่ควรกระทำเสมอทุกวัน เพราะจะช่วยให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี นอนหลับสนิท กระตุ้นการอยากอาหาร และลดโอกาสท้องผูก